? พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับก๊าซ LPG(1)*

0
603

?️ ก๊าซ LPG ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่ใกล้ชิดกับประชาชน ใช้ประโยชน์เป็นก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง และใช้ในอุตสาหกรรม ราคาก๊าซการผลิตและจัดหามาจาก 3 แหล่งคือ

(1) โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแยกก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ในประเทศ 56%

(2) โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่ง LPG ผลิตได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ 34%

(3) การนำเข้า LPG จากต่างประเทศ 10%

?️ โครงสร้างราคาก๊าซ LPG ที่เป็นเชื้อเพลิงสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับราคา คือ

(1) ราคา ณ โรงกลั่น (Ex-Refinery) ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงตลาดสากล โดยราคาจากโรงแยกก๊าซฯ จะถูกกำกับให้เป็นไปตามต้นทุนจริงและมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วย

(2) ราคาขายส่ง (Wholesale Price) ซึ่งเป็นราคาที่ขายหน้าคลังก๊าซ หรือโรงกลั่น โดยมีส่วนประกอบคือ ราคา ณ โรงกลั่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นเครื่องมือในการบริหารราคาขายปลีก

(3) ราคาขายปลีก (Retail Price) ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคสุดท้ายจ่าย ประกอบด้วยราคาขายส่ง บวกด้วยค่าการตลาด และภาษีมูลค่าเพิ่ม (เฉพาะในส่วนที่มีการเพิ่มมูลค่า) **ทั้งนี้เป็นราคาที่หน้าร้านค้าก๊าซ หรือ สถานีบริการ ไม่รวมค่าบริการขนส่งถึงบ้าน

?️ ติดตามอ่านได้ที่นี่ : https://goo.gl/1kg4y3

? ที่มา : ทิศทางประเทศไทย: พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับก๊าซ LPG(1)

? หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์ ; วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2561

? บทความโดย : ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)

?️ ภาพจาก : www.thairath.co.th

*บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/852207768322566