Q: ค่าการตลาด ในโครงสร้างราคาน้ำมันถูกกำหนดไว้คงที่หรือไม่ ?
A: ค่าการตลาดเคยถูกกำหนดไว้คงที่ จนถึงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ได้มีการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน เป็นผลให้เกิดการแข่งขันตามกลไกตลาด มีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาดไทยอย่างคึกคัก อาทิ ยี่ห้อ Q8 BP Jet Petronas
ธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีกำไรดีอย่างที่หลายคนคิด สังเกตได้จากเหตุการณ์ที่ Q8 BP Jet Petronas ดำเนินธุรกิจในไทยอยู่พักหนึ่ง แต่ขาดทุนจนต้องถอนตัวออกไป และจากที่สถานีบริการที่อยู่ในใจกลางเมืองใหญ่ๆ ได้ทยอยปิดตัวลง
แม้ว่าน้ำมันจะไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่ก็อยู่ภายใต้การกำกับควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยกระทรวงพลังงาน ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานจะกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันให้มีค่าการตลาดที่เหมาะสม มีอัตราเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1.85 บาท/ลิตร หรือเฉลี่ยขึ้นลงได้ในช่วง 1.45 – 2.25 บาท/ลิตร
ค่าการตลาด เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสถานีบริการรวมถึงกำไร (ทั้งนี้ ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้ด้วย) ค่าการตลาด ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลายอย่างตั้งแต่การขนส่ง การเก็บสต๊อก ค่าเช่าสถานีบริการ และค่าใช้จ่ายในการบริหารและให้บริการ ทั้งนี้ ต้นทุนของสถานีบริการในทำเลที่ตั้งที่ต่างกันก็แตกต่างกันได้มาก เช่นค่าเช่าที่ดิน และค่าขนส่ง เป็นต้น
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ค่าการตลาด #ราคาน้ำมัน
ดูเรื่อง “โครงราคาน้ำมันไทย” ได้ที่ https://bit.ly/2ZMjKwa
ดูบทความเพิ่มเติม เรื่อง “การปรับสูตรราคาอ้างอิงหน้าโรงกลั่น” โดย มนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ได้ที่ https://bit.ly/2Ah6u9
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1373707619505909/