กองทุนน้ำมันฯ ทำให้น้ำมันแพง จริงหรือ ? หรือมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร ?

0
672

กองทุนน้ำมันฯ ทำให้น้ำมันแพง จริงหรือ ? หรือมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร ?
.
1– จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ไม่ให้ผันผวนมาก

2– ทำไมต้องมีกองทุนน้ำมัน เนื่องจาก น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาเนื้อน้ำมันจึงเปลี่ยนแปลงตามตลาดโลก ซึ่งมีความผันผวนสูงมากเป็นครั้งคราว โดยน้ำมันที่ใช้กันในไทยนั้นส่วนใหญ่กลั่นจากน้ำมันดิบที่นำเข้า

3– เมื่อราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูง จะมีเงินชดเชยจากกองทุนมาช่วยอุดหนุนให้ราคาขายปลีกต่ำลง

4– เมื่อราคาน้ำมันลด กองทุนน้ำมันฯ ก็จะเก็บเงินคืน เพื่อใช้ในการบริหารวิกฤตการณ์ครั้งต่อไป

5– กองทุนน้ำมันฯ จะเก็บเงินสะสมไว้ไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท และกู้ยืมได้ไม่เกิน 2 หมื่นล้าน ทำให้ราคาขายปลีกในระยะยาวไม่บิดเบือนไปจากต้นทุนที่แท้จริง

6– ช่วยให้ผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้นในภาวะวิกฤตที่อาจสร้างผลกระทบรุนแรงต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและค่าครองชีพของประชาชน

7– การอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อช่วยเกษตรกรรม อย่างแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ถือเป็นจุดอ่อนของกองทุนน้ำมันฯในปัจจุบัน เนื่องจากเชื้อเพลิงชีวภาพมีต้นทุนสูงกว่าน้ำมันจากปิโตรเลียม ทำให้ผู้บริโภคยังต้องจ่ายราคาน้ำมันที่แพงกว่าที่ควร ทั้งที่ราคาน้ำมันตกต่ำทั่วโลก อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 ได้กำหนดให้ทยอยปรับลดการสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพลงภายในปี 2565 โดยคณะรัฐมนตรีอาจมีมติให้ขยายการอุดหนุนต่อได้สูงสุดอีกไม่เกิน 4 ปี

8– ผู้กำหนดอัตราเรียกเก็บและอัตราอุดหนุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วยตัวแทนจากระทรวงพลังงาน พาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม และกระทรวงการคลัง มีการรายงานสถานะกองทุนฯ ทุกสัปดาห์ในเว็บไซต์ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

.
#ERSFellowship #พลังงาน8บรรทัด #กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง #เชื้อเพลิงชีวภาพ
.
ℹ️ สถานะกองทุนรายงานโดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน
https://www.efai.or.th/?q=th/oilfund

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1342678752608796