Tag: ERSFellowship
เทรนด์รักษ์โลกทำให้ จักรยานยนต์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น
เทรนด์รักษ์โลกทำให้ จักรยานยนต์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น
เมื่อปีที่ผ่านมา มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามียอดขายในไทย เกือบ 1,000 คัน ! แม้ยังมีการส่งเสริมไม่มากเท่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถบัสไฟฟ้า แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ควรมีการส่งเสริม ตามที่สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) มีการผลักดันข้อเสนอให้ “...มีการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถสามล้อ...” ปัจจุบัน เริ่มมีบริษัทที่หันมาพัฒนาตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เช่น
Honda ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดตัวระบบจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกการเดินทางที่ใช้พลังงานสะอาด
ETRAN สตาร์ทอัพของคนไทย ผู้ผลิตและออกแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งตั้งเป้าในการผลิตที่จะลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) และการใช้พลาสติก
Swag...
Blockchain ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน
Blockchain ช่วยลด Carbon Emissions ได้อย่างไร?
ทุกๆ ปี เรือขนส่งสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์กว่า 100 ล้านตู้ที่แทบว่างเปล่า เดินทางข้ามมหาสมุทร เป็นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 280 ล้านตัน และเป็นการสูญเสียทางมูลค่ากว่า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
บริษัทสตาร์ทอัพชื่อ Cubex Global ได้พัฒนาเทคโนโลยี Blockchain เพื่อรวบรวมสถานะของตู้คอนเทนเนอร์ตามจุดต่างๆ เพื่อซื้อและขายพื้นที่ว่างเปล่าให้ผู้ใช้ได้ใช้พื้นที่คอนเทนเนอร์ร่วมกัน ช่วยให้เรือขนส่งสินค้าทางทะเลและตู้คอนเทนเนอร์จำนวนกว่า 790...
รู้จักไฮโดรเจน พลังงานแห่งอนาคต
ไฮโดรเจนมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในจักรวาล ดวงอาทิตย์ก็มีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบส่วนมาก ไฮโดรเจนตามธรรมชาติบนโลก จะรวมอยู่กับธาตุอื่นในสถานะต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนรวมกับออกซิเจนคือ น้ำ (H2O) ไฮโดรเจนรวมกับคาร์บอน คือ ไฮโดรคาร์บอน ที่พบในก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมัน
ไฮโดรเจน ถือว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในฐานะแหล่งพลังงาน และยังใช้เป็น พาหะพลังงาน หรือ...
ถ้ามีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ชุมชนโดยรอบจะได้ประโยชน์อะไร ?
Q: ถ้ามีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ชุมชนโดยรอบจะได้ประโยชน์อะไร ?
A: หากก่อตั้งโรงไฟฟ้า มีกฎหมายกำหนดว่า ให้โรงไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ต้องจัดสรรเงินจากรายได้ของโรงไฟฟ้ามาตั้ง “กองทุนพัฒนาไฟฟ้า” ให้กับชุมชนโดยรอบ และกำหนดให้มีผู้แทนของภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการในจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ด้วย
“กองทุนพัฒนาไฟฟ้า" ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมคุณภาพชีวิตทุกด้าน โดยชุมชนในพื้นที่จะมีบทบาทในการเสนอแนวทางการใช้กองทุนฯ สำรวจความคิดเห็นและเสนอโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมามีโครงการที่น่าสนใจ เช่น...
สายส่งไฟฟ้าที่ยาวที่สุดในโลก ส่งไฟจากเดนมาร์กไปอังกฤษ
เดนมาร์กสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้จนเกินพอและจะมีการส่งไฟฟ้าให้สหราชอาณาจักรใช้ด้วยในเวลาอันใกล้ ด้วยสายส่งไฟฟ้าที่มีความยาวที่สุดในโลกถึง 765 กิโลเมตร วางตัวลอดใต้ทะเลเหนือจากเมือง Vejen ไปยัง Lincolnshire เมื่อก่อสร้างเสร็จ ภายในปี 2023 บ้านเรือนในสหราชอาณาจักรกว่า 1.4 ล้านหลังคาเรือน จะมีไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดใช้ อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ตั้งเป้าจะปล่อยคาร์บอน Net-Zero ภายในปี 2050
เดนมาร์กลงทุนอย่างจริงจังกับนวัตกรรมกังหันลมมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อปีที่แล้ว 47% หรือเกือบครึ่งของความต้องการไฟฟ้าในประเทศก็ได้มาจากพลังงานลม ในกรณีนี้...
ยางรถยนต์อาจเป็นตัวการที่ทำให้น้ำแข็งอาร์กติกละลาย
จากการใช้งานยางรถยนต์ที่ถูกบดอัดบนถนนระหว่างการเดินทางของมนุษย์ ทำให้เกิดอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋ว หรือ Microplastic หลุดออกมาได้ เนื่องจากยางรถยนต์ทำมาจากพลาสติกและยาง เมื่อใช้งานอนุภาคพลาสติกเล็ก ๆ ก็จะหลุดออกมาและฟุ้งกระจายไปในอากาศ เมื่อถูกสายลมและสายฝนพัดพา ก็จะชะล้างไมโครพลาสติกเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำและมหาสมุทรในที่สุด มีงานวิจัยค้นพบว่า 28% ของไมโครพลาสติกในมหาสมุทรนั้นมาจากยางรถยนต์ !
อย่างไรก็ตาม Microplastic ทั้งหมดก็ไม่ได้ไหลลงทะเล แต่สามารถพัดพาไปได้ในอากาศ และเดินทางไปได้ไกลถึงขั้วโลกซึ่งถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะ ทำให้พื้นผิวที่ควรจะเป็นสีขาวโพลน มีสีเข้มขึ้นและยิ่งดูดซับแสงอาทิตย์มากเข้าไปอีก จนไปเร่งการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
แม้ Microplastic จะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้โลกร้อนขึ้น...
รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนรถ EV ?
รัฐบาลญี่ปุ่นส่งเสริมการใช้รถ EV อย่างจริงจัง ช่วยให้ยานยนต์แห่งอนาคตออกสู่ตลาดในราคาจับต้องได้มากขึ้น และเป็นโมเดลที่น่าเรียนรู้สำหรับไทย
หลังจากประสบความสำเร็จจากรถยนต์ไฮบริดแล้ว ค่ายรถใหญ่ๆ ของญี่ปุ่นก็เริ่มหันมาทุ่มเทให้การพัฒนารถ EV เพื่อเจาะตลาดแข่งกับค่ายรถจากอเมริกาและยุโรป ล่าสุด Toyota ประกาศร่วมทุนกับ Mazda เพื่อสร้างยานยนต์พลังไฟฟ้า ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังมุ่งมั่นที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม Paris Agreement ลงอีก 26% ภายในปี 2030 อีกด้วย
แล้วญี่ปุ่นจะทำได้อย่างไร ?
...
โซลาร์เซลล์หมดอายุจัดการอย่างไร ?
Q: เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ จะจัดการอย่างไร?
A: แผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ควรนำไปทิ้ง เพราะมีองค์ประกอบทั้งสารอันตราย เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสารไม่อันตราย แต่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่น เงิน แพลตตินั่ม หรือโลหะหายาก เช่น เทลลูเรียม เจอร์มาเนียม และ อินเดียม ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ดังเช่นหลายประเทศในโลกที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมาตรการต่าง...
ไฟฟ้าพลังงานทดแทน โดยพลังน้ำจากฝาย
ฝาย นอกจากจะเป็นที่กักเก็บน้ำแล้ว เมื่อติดตั้ง “ระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำ” ก็กลายเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ด้วย แม้จะเป็นฝายในชุมชนก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นอีกทางเลือกให้คนในชุมชนที่มีฝายเก็บน้ำตามลำธารให้ได้ใช้พลังงานสะอาดราคาถูก สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน เพื่อความมั่นคงและอิสรภาพทางพลังงานให้กับคนในพื้นที่ได้อีกด้วย
หลักการทำงาน “ระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำ” เริ่มจากการวางท่อจากฝายให้ไหลไปสู่พื้นที่ต่ำกว่า โดยติดตั้งกังหันน้ำขนาดเล็กเอาไว้ในพื้นที่ปิดขนาดเล็ก เพื่อให้เกิดน้ำวนและเป็นตัวหมุนกังหันน้ำ ผลิตกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ กักเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนกันต่อไป
จากวิดีโอ ชุมชนเคยใช้โซลาร์เซลล์แต่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอ จึงมีการนำระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำมาใช้เพิ่มเติม เมื่อได้ปรับใช้ก็มีการติดตั้งระบบกังหันน้ำแรงดันต่ำนี้เข้ากับฝายขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก
#6ปีERS #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship...
เอทานอลไทยมาจากไหน?
ในประเทศไทยวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเอทานอลคือ กากน้ำตาล มันสำปะหลัง และน้ำอ้อย เมื่อผสมกับน้ำมันเบนซิน จะกลายเป็นแก๊สโซฮอลล์
เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียม เอทานอลผลิตได้จากวัตถุดิบทางการเกษตร สามารถนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อใช้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ หรือใช้เดี่ยวๆ เป็นเชื้อเพลิงได้เช่นกัน
หากไม่ใช่วัตถุดิบประเภทน้ำตาลจะต้องนำมาเข้ากระบวนการย่อยสลายด้วยเอนไซม์เพื่อให้แปรสภาพเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อน จากนั้นจึงนำไปหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับวัตถุดิบและกลั่นออกมา แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการแยกน้ำให้ได้เอทานอลบริสุทธิ์
โรงงานผลิตเอทานอลในไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ต่อยอดมาจากธุรกิจเดิมที่เกี่ยวเนื่องกัน นับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้วัตถุดิบทางการเกษตรได้ดีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ในอดีตเมื่อเริ่มมีแก๊สโซฮอล์ ราคาเอทานอลถูกกำหนดให้อ้างอิงราคาตลาดโลก และถูกกว่าราคาน้ำมัน แต่ต่อมาจนปัจจุบันราคาเอทานอลบ้านเรากำหนดให้อิงต้นทุนและแพงกว่าราคาตลาดโลก รัฐควรปรับปรุงโครงสร้างให้ราคาเอทานอลแข่งขันได้มากกว่านี้...