Tag: ไฟฟ้าเสรี
สำรวจตลาดไฟฟ้าเสรี EU: ข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องแก้
สำรวจตลาดไฟฟ้าเสรี EU: ข้อดี ข้อเสีย และสิ่งที่ต้องแก้
เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษที่สหภาพยุโรปก้าวเข้าสู่ระบบตลาดไฟฟ้าเสรี จากวันนั้นจนวันนี้โครงสร้างการผลิตและการจำหน่ายไฟฟ้ารวมทั้งรูปแบบของตลาดเปลี่ยนแปลงไปมาก การแข่งขันเสรีเข้ามาแทนที่การดำเนินการแบบผูกขาด ช่วยให้ประสิทธิภาพของระบบดีขึ้น แต่ก็พ่วงมาด้วยความท้าทายอีกมากเช่นกัน
ข้อดี: กว่า 28 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้รวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างตลาดไฟฟ้าเสรี ช่วยให้ประชากรกว่า 500 ล้านคนได้รับประโยชน์ในด้านราคาและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ข้อเสีย: ตลาดในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่แบ่งเป็น Bidding Zone ตามประเทศ แต่การซื้อขายข้ามโซนยังมีข้อจำกัดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบในแต่ละประเทศ จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดของความเป็นตลาดใหญ่ในระดับสหภาพยุโรปได้
สิ่งที่ยังต้องแก้ไข: ขอบเขตของโซนต่างๆ...
ก้าวผ่านไฟฟ้าผูดขาดสู่ไฟฟ้าเสรีในยุโรป
สหภาพยุโรป (EU) ก้าวผ่านไฟฟ้าผูกขาด ไปสู่ไฟฟ้าเสรี
กิจการไฟฟ้าเสรีในอุดมคติ คือเมื่อไม่มีผู้ผลิต/ผู้ขายไฟฟ้ารายได้รายหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อราคาในตลาดขายส่งได้ และเมื่อผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อไฟได้ตามราคาและบริการที่ตนพอใจในตลาดขายปลีก สภาวะเหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคได้อัตราคาค่าไฟที่ต่ำกว่าในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ
แต่กิจการไฟฟ้าเสรีแบบ 100% ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แม้ใน EU ปัจจุบันก็ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ประเทศใน ยุโรปมีกิจการไฟฟ้าแบบผูกขาด มีองค์กรที่ดูแลกิจการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า จัดส่ง จนถึงการขายไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ต้องพบความท้าทายจากการแข่งขัน และสามารถควบคุมราคาค่าไฟเองได้
ปี...
เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ?
Q: เมืองไทยชอบกล! ให้เอกชนผลิตไฟฟ้าแข่งกับรัฐ?
A: ถ้าดูแนวโน้มนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก จะเห็นว่าเมืองไทยไม่แปลกเลย เพราะมีการใช้ประโยชน์ของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทบทุกประเทศ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด คือ ประเทศจีน ซึ่งเคยเป็นระบบคอมมิวนิสต์ที่รัฐผูกขาดการผลิตแทบทั้งหมด ก็ได้แปรรูปโดยใช้กลไกตลาดและแรงจูงใจของเอกชน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมหาศาล อีกทั้งความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปก็ดีขึ้นมากดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ตัวอย่างอื่นใกล้บ้านเราก็มี เช่น ประเทศเวียดนาม
สังเกตได้ว่าแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 มาตรา 75 ก็ระบุว่า รัฐจะไม่ประกอบกิจการที่แข่งขันกับเอกชนในธุรกิจที่เอกชนดำเนินการได้...
ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ?
Q: ถ้าให้เอกชนเข้ามาขายไฟฟ้า ค่าไฟจะแพงขึ้น เพราะเอกชนก็จะเอาแต่กำไรสูง ๆ จริงหรือ ?
A: ไม่จริงค่ะ การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้านั้น ทำผ่านกลไกการแข่งขันซึ่งทำให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด โรงไฟฟ้าเอกชนที่จะได้สร้างต้องชนะการประมูลแข่งขัน โดยราคาที่เข้าประมูลจะต้องต่ำกว่าต้นทุนสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในช่วงนั้น ๆ จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระค่าไฟสำหรับผู้บริโภคค่ะ เพราะถ้าเอกชนไม่ได้สร้าง กฟผ. ก็จะเป็นผู้สร้างเอง ซึ่งอาจจะแพงกว่าที่เอกชนประมูลก็ได้
จริงอยู่ กำไรเอกชนเข้ากระเป๋านายทุน แต่ก็ไม่แปลกเพราะเงินลงทุนมาจากเอกชน และเขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อน
นอกจากนี้ ระบบของเอกชนมีความคล่องตัว...
Brexit จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าของสหราชอาณาจักรสูงขึ้น
การถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) อาจทำให้คนอังกฤษต้องใช้ไฟแพงขึ้น !
ทศวรรษที่ผ่านมา อังกฤษซื้อไฟฟ้าจากตลาดต่างประเทศ 2 แห่ง คือ Nord Pool ของนอร์เวย์ และ Epex Spot ของฝรั่งเศส โดยผ่านระบบที่กำหนดค่าไฟฟ้าสำหรับทั้งประเทศ ภายใต้กฎกติกาของตลาดพลังงานร่วมของสหภาพยุโรป
เมื่ออังกฤษออกจากสมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (EU) ในปีหน้าก็จะออกจากระบบตลาดพลังงานร่วมดังกล่าว โดยยังไม่มีระบบใหม่รองรับ ทำให้ต้องแยกการประมูลเพื่อซื้อไฟฟ้าในตลาดรายวันทีละตลาด (Pool) ซึ่งเป็นวิธีที่ด้อยประสิทธิภาพและคาดว่าจะส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้น
แม้สถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีอะไรแน่ชัดว่าราคาจะเป็นไปในทิศทางใด แต่งานวิจัยจาก...
ส่องตลาดไฟฟ้าเสรีกลุ่มประเทศนอร์ดิก
ส่องตลาดไฟฟ้าเสรี Nord Pool ครอบคลุมกลุ่มประเทศนอร์ดิก-บอลติก
กลุ่มประเทศนอร์ดิกเริ่มเปิดเสรีไฟฟ้าในช่วงต้นทศวรรษ 1990 และเชื่อมโครงข่ายไฟฟ้าข้ามประเทศเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อ Nord Pool ต่อมาเมื่อประเทศในกลุ่มบอลติกเปิดเสรีแล้ว จึงเข้าร่วมด้วยในปี 2010 การเปิดเสรีที่รัฐไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการในตลาดไฟฟ้า แต่ให้ระบบการแข่งขันเสรีเข้ามามีบทบาท ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อประเทศต่าง ๆ สามารถซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกันได้ ถือเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางไฟฟ้าได้อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ กำลังผลิตต่าง ๆ จะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับภูมิภาค
ปัจจุบัน Nord Pool...
กลไกตลาดไฟฟ้าของสิงคโปร์ ช่วยให้ผู้ใช้ไฟได้ประโยชน์อย่างไร?
กลไกตลาดไฟฟ้าของสิงคโปร์ ช่วยให้ผู้ใช้ไฟได้ประโยชน์อย่างไร?
สมัยก่อนสิงคโปร์มี Singapore Power (SP) เป็นผู้ให้บริการไฟฟ้ารายเดียว คล้ายๆ การไฟฟ้าฯ ของไทย ตั้งแต่ปี 2544 สิงคโปร์ได้เริ่มเปิดเสรีกิจการไฟฟ้า ทำให้มีผู้ผลิตไฟฟ้าหลายรายแข่งกันขายในตลาดค้าส่ง โดยขั้นสุดท้ายคือ เปิดตลาดค้าปลีกไฟฟ้าเสรี ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อบริการจากผู้ขายไฟได้
ปัจจุบัน ตลาดซื้อขายไฟฟ้าของสิงคโปร์ประกอบด้วยตลาดค้าส่งและค้าปลีก
ตลาดค้าส่งไฟฟ้า : ผู้ผลิตไฟฟ้าจะประมูลราคาขายไฟฟ้าทุกครึ่งชั่วโมง โดยราคาจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของไฟฟ้า จากนั้น ผู้ค้าไฟฟ้ารายย่อยจะมารับซื้อไฟฟ้าจากตลาดค้าส่งนี้ เพื่อไปขายต่อให้ผู้บริโภค
ตลาดค้าปลีกไฟฟ้า :...
ข้อดีของการแข่งขันขายไฟฟ้า
ข้อดีของการแข่งขันขายไฟฟ้า
หากครัวเรือน ธุรกิจ โรงงาน สามารถเลือกซื้อไฟฟ้าเองได้ ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเลือกรูปแบบและบริหาร ค่าไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ เหล่าผู้ให้บริการก็จะแข่งขันกันตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและสร้างนวัตกรรมพลังงานที่เหมาะสมกับผู้ใช้และสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ การแข่งขันขายไฟฟ้ายังเอื้อให้เกิดการพัฒนาพลังงานสีเขียว และราคาแบบ time-of-use (ตามการใช้งาน) ได้อีกด้วย
ที่มา Retail Energy Supply Association - RESA (กลุ่มผู้ค้าปลีกพลังงานสหรัฐอเมริกา) https://www.resausa.org/shop-energy/benefits-retail-energy#first
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ไฟฟ้าเสรี
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1414966652046672
ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรเข้ารัฐดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ ?
Q: ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรส่งเข้ารัฐ ดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ?
A: การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งนอกจากช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคส่วนนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้ประเทศได้ขยายบริการเชิงสาธารณูปโภคโดยไม่ต้องใช้เงินที่มีอยู่จำกัดของภาครัฐมาลงทุน
ในเมื่อเงินลงทุนมาจากเอกชน ก็ไม่แปลกนะคะ ที่กำไรเอกชนเข้าผู้ลงทุน แต่เขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อนนะคะ และเงินปันผลที่จ่ายให้นายทุนก็ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือถูกหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย ในขณะที่การลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ และส่งผลต่อหนี้สาธารณะ เพราะรัฐมีความต้องการงบประมาณที่สูงมาก ไหนจะถนนหนทางไหนจะโรงเรียนทั่วประเทศ โรงพยาบาล ตำรวจทหาร และกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ดังนั้น รัฐมีข้อจำกัดทางการเงินการคลัง และต้องระวังรักษาเสถียรภาพ เพราะถ้ารัฐบาลล่มจมประชาชนก็จะเดือดร้อนกันถ้วนหน้า
ดังนั้น สิ่งใดที่เอกชนทำได้จึงควรปล่อยให้เอกชนเข้ามาทำ...