Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ
โลกต้องการพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ?
โลกต้องการพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ?
แม้ “พลังงานนิวเคลียร์” จะเป็นสิ่งที่หลายคนหวาดกลัวเรื่องความปลอดภัย แต่ในโลกนี้ก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้กันถึง 31 ประเทศ เพราะถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดขนาดใหญ่มาก และอาจมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ปัญหาโลกร้อน) ที่ยังท้าทายมนุษย์ชาติอยู่
แม้การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่สามารถสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้เพียงพอ ที่ผ่านมาจึงยังมีการใช้พลังงานจากฟอสซิลมากขึ้น นำมาสู่คำถามว่า “เราสามารถลดการปล่อย CO2 ของโลกลงได้ โดยไม่ต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือกอย่างนิวเคลียร์ ได้หรือไม่ ? ”
สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังคงพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์อยู่ โดยประเทศเหล่านี้สามารถลดการปล่อย CO2...
UAE เป็นอาหรับชาติแรกที่เดินเครื่องพลังงานนิวเคลียร์
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE มุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจลดการพึ่งน้ำมันลง และเพิ่มการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น โดย UAE เป็นชาติอาหรับประเทศแรกที่เดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเป็นประเทศแรกในรอบ 30 ปีที่เริ่มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ หลังจากก่อนหน้านี้ จีนเป็นประเทศสุดท้ายที่เริ่มผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เมื่อปี 2533 โดยปัจจุบันนี้มีเพียง 31 ประเทศในโลกเท่านั้นที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Barakah ของ UAE แห่งนี้ ได้เดินเครื่อง 1...
18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วิทยาศาสตร์ กับ พลังงาน
การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลกเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชากรโลกทุกประเทศต้องเผชิญและเป็นปัญหาที่ท้าทาย “พลังงาน” จึงเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจจากวงการวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาวะโลกร้อน เพื่อเร่งแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวน
การกำหนดให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จึงมีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในทุกมิติ รวมถึงเรื่องของพลังงาน
หมายเหตุ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงตามที่ทรงคำนวณไว้ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม...
ไขข้อข้องใจ ใครถือหุ้น ปตท. ?
ไขข้อข้องใจ ใครถือหุ้น ปตท. ?
A: ปตท. จัดตั้งตาม พ.ร.บ. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจหลักด้านปิโตรเลียมและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ต่อมาได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ภายใต้ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และได้กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อธันวาคม พ.ศ.2544 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน
นอกจากการถือหุ้นโดยตรงของกระทรวงการคลังประมาณ 51% แล้ว กระทรวงการคลังยังถือหุ้นผ่านกองทุนวายุภักษ์ทั้ง...
Toronto เปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นก๊าซชีวภาพ
Toronto เปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นก๊าซชีวภาพ
ทุกๆ ปี อาหารราว 1 ใน 3 ที่ผลิตขึ้นบนโลกจะกลายเป็นขยะและถูกทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ไม่คุ้มค่าพลังงานและคาร์บอนฟุดพรินต์ที่เกิดจากการผลิตและขนส่ง แถมยังเป็นตัวการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมากพอๆ กับภาคการขนส่งทั่วโลกรวมกัน
เป็นการนำเศษอาหารไปย่อยสลายเป็น “ก๊าซชีวภาพ” ที่นำไปใช้เป็นพลังงานสำหรับรถเก็บขยะ รวมทั้งครัวเรือนและสำนักงานต่าง ๆ
ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากก๊าซมีเทนที่ได้จะอยู่ในระบบปิด ไม่ถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ
พลังงานที่ได้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
เป็นการกำจัดขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
นอกจากที่ Toronto แคนาดา แล้ว...
หม้อแปลงอัจฉริยะช่วยลดค่าไฟ
หม้อแปลงอัจฉริยะช่วยลดค่าไฟ
หม้อแปลง Smart Transformer Solution & IoT สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งระบบได้สูงสุด 22% ช่วยยืดอายุการใช้งานและลดค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า จากคุณสมบัติที่สามารถตรวจจับพลังงานได้แบบเรียลไทม์และเก็บข้อมูลไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงพฤติกรรมการใช้ไฟของตนเองและบริหารจัดการพลังงานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
“เจริญชัยหม้อแปลง” เป็นนวัตกรรมไทยที่ช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพและประหยัดพลังงานไฟฟ้า พร้อมเพิ่มศักยภาพการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพลังงานสะอาด ทำให้ได้รับรางวัล ด้านผลงานนวัตกรรม ในโครงการประกวดการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 จากกระทรวงพลังงานและกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ที่มา https://www.electricityandindustry.com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87-teit2019/
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #หม้อแปลงไฟฟ้าอัจฉริยะ
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1410529022490435
ใครควรรับผิดชอบต่อการปล่อย CO2 ที่เพิ่มขึ้นของโลก?
ถึงแม้นานาประเทศแสดงเจตจำนงค์ที่จะลดการปลดปล่อย CO2 แต่ยังมีการปลดปล่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2019 เป็นปีที่มีการปล่อย CO2 รวมทั่วโลกในระดับสูงสุด หรือ All-time high ตามข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy ปี 2020
ถึงแม้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว...
รู้จักยานยนต์พลังงานสะอาดจาก “ไฮโดรเจน”
รู้จักยานยนต์พลังงานสะอาดจาก “ไฮโดรเจน”
รถยนต์ไฟฟ้า FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle) ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง มี Fuel Cell ในการทำปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขับเคลื่อนรถยนต์ ซึ่งถือเป็นรถไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งนอกจากรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้า (BEV-Battery Electric Vehicle) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
แม้รถยนต์พลังไฮโดรเจน (FCEV) สามารถวิ่งได้ระยะทางมากกว่ารถ BEV เพียงเล็กน้อย แต่ใช้เวลาเติมเชื้อเพลิงใกล้เคียงกับรถที่ใช้น้ำมัน คือ...
ข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมไทยถูกปิดบัง จริงหรือ ?
Q: ข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมไทยถูกปิดบัง จริงหรือ ?
A: ไม่จริงค่ะ สามารถดูข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมของไทย ได้ที่เว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (จะมียกเว้นก็การผลิตที่ฝาง ซึ่งกองทัพดูแลอยู่ค่ะ)
แหล่งผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย มีทั้งบนบกและในอ่าวไทย และมีทั้งที่เป็นบ่อก๊าซและบ่อน้ำมัน แหล่งผลิตปิโตรเลียมใหญ่ ๆ เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งสิริกิติ์
ดูรายงานการผลิตปิโตรเลียมรายเดือนได้ที่ เว็บไซต์กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ https://dmf.go.th/public/createpetroleum/data/index/menu/1114/groupid/1
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #คุณถามเราตอบ #ปิโตรเลียมไทย
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1408024722740865
เทรนด์รักษ์โลกทำให้ จักรยานยนต์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น
เทรนด์รักษ์โลกทำให้ จักรยานยนต์ไฟฟ้า ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น
เมื่อปีที่ผ่านมา มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ามียอดขายในไทย เกือบ 1,000 คัน ! แม้ยังมีการส่งเสริมไม่มากเท่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือรถบัสไฟฟ้า แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ควรมีการส่งเสริม ตามที่สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) มีการผลักดันข้อเสนอให้ “...มีการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถสามล้อ...” ปัจจุบัน เริ่มมีบริษัทที่หันมาพัฒนาตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เช่น
Honda ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดตัวระบบจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกการเดินทางที่ใช้พลังงานสะอาด
ETRAN สตาร์ทอัพของคนไทย ผู้ผลิตและออกแบบรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งตั้งเป้าในการผลิตที่จะลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) และการใช้พลาสติก
Swag...