Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

16 กันยายน วันโอโซนโลก

“โอโซน” ก๊าซที่ช่วยปกป้องโลกใบนี้ โอโซนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งที่เกิดจากการจับตัวกันของออกซิเจน 3 อะตอม จะดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับสถานที่พบ หากพบในชั้นบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัย (โทรโพสเฟียร์) จัดเป็นตัวร้าย เพราะเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากอาจทำลายปอดได้ หากพบในชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้นไปชื่อสตราโทสเฟียร์ จัดเป็นตัวดี เพราะมีการรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ ที่ช่วยป้องกันรังสียูวีอันรุนแรงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ลงมาทำร้ายสิ่งมีชีวิต เมื่อ ค.ศ.1978 นักวิทยาศาสตร์พบว่า ชั้นโอโซนเกิด “รูรั่ว” ขนาดมหึมา หากชั้นโอโซนรั่วไปมากกว่านี้ รังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์จะตกกระทบโลกในปริมาณที่เป็นอันตราย จึงเกิดความพยายามรักษาและฟื้นฟูชั้นโอโซนอย่างเร่งด่วนและมีการค้นพบว่าสิ่งที่ทำให้โอโซนเกิดรอยรั่ว คือ สารเคมีจากอุตสาหกรรมความเย็นและแอโรซอล เช่น...

Test Flight รถบินได้ รูปแบบใหม่ของการเดินทาง

ต้นแบบ “รถไฟฟ้าบินได้” คันแรกของโลกผ่านการทดสอบการบินแล้ว เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทสตาร์ทอัพเทคโนโลยีของญี่ปุ่น “SkyDrive” ที่เกิดจากรวมตัวของวิศวกรที่เชี่ยวชาญเรื่องอากาศยาน โดรน และรถยนต์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบิน ของยานยนต์ไฟฟ้าบินได้แบบ eVTOL โดยมีนักบินบังคับได้สำเร็จเป็นครั้งแรก eVTOL ย่อมาจาก Electrical Vertical Takeoff and Landing (eVTOL) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง มีหนึ่งที่นั่งขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ 8 ตัว...

น้ำมันราคาลดลง ทำไมค่าไฟฟ้าไม่ลด?

Q: น้ำมันราคาลดลง ทำไมค่าไฟฟ้าไม่ลด ? A: เพราะเมื่อราคาน้ำมันลง (หรือขึ้น) กว่าจะมีผลต่อราคาก๊าซที่ใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย (gas pool) จะมีการทอดเวลา (time lag) ประมาณ 6-21 เดือนค่ะ ซึ่งในช่วงปัจจุบันก็เริ่มมีผลให้ค่าไฟลดลงแล้ว โดยเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 63 กกพ. ประกาศลดค่าเอฟทีลงตามภาวะราคาเชื้อเพลิง ตั้งแต่กันยายน-ธันวาคม ลง...

CCUS ทางออกของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ?

CCUS ทางออกของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ? เนื่องจากยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่มาก จึงได้มีการคิดค้นวิธีดักจับคาร์บอนเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ ที่เรียกว่า CCUS: Carbon Capture, Utilization, and Storage CCUS มีกระบวนการทำงานโดยเริ่มจากการดักจับ (Capture) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม มาส่งผ่านท่อลงสู่ชั้นใต้ดินลึกหลายกิโลเมตรและจะถูกกักเก็บไว้ (Storage) ไม่ให้รั่วไหลออกมา หรืออาจนำคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ (Utilize) หรือเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ในอนาคต CCUS ถือเป็นทางออกสำคัญที่ช่วยบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศแปรปรวนได้ทางหนึ่ง ที่มา https://www.iea.org/fuels-and-technologies/carbon-capture-utilisation-and-storage?fbclid=IwAR1iBWJIixMTvrZr3nGz9UqWJZaNLWzGsYKE4o_w6FT-S8udEb2LXZVoBqw #6ปีERS...

พลังงานความร้อนใต้พิภพจากสวนหลังบ้าน

พลังงานความร้อนใต้พิภพจากสวนหลังบ้าน บริษัท X ซึ่งเป็น Startup ของ Google ได้พัฒนาเทคโนโลยีชื่อ “Dandelion” เพื่อติดตั้งในบ้านและผลิตพลังงานสะอาดสำหรับใช้ทำความอบอุ่นและความเย็นด้วยอุปกรณ์ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพลังความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) ได้ Dandelion เป็นระบบที่ใช้ประโยชน์จากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิบนดินและใต้ดิน โดยมีปั๊มความร้อนที่ติดตั้งเชื่อมต่อกับระบบท่อใต้ดิน ในช่วงฤดูร้อน ใต้ดินจะเย็นกว่าอุณหภูมิของบรรยากาศ ปั๊มความร้อนจะถ่ายเทความร้อนจากอาคารและปล่อยลงสู่ใต้ดิน ทำให้บ้านเย็นขึ้น กลับกัน ในช่วงฤดูหนาว ใต้ดินจะอุ่นกว่าบรรยากาศ ความร้อนจากใต้ดินจะถูกถ่ายเทและส่งผ่านปั๊มความร้อน เพื่อให้ความอบอุ่นแก่อาคาร โดยเฉลี่ย ระบบของ Dandelion...

เลือกจ่ายค่าไฟตามช่วงเวลาที่ใช้ (TOU) ดีอย่างไร?

นอกจากอัตราค่าไฟแบบที่ใช้กันทั่วไปแล้ว เรายังมีทางเลือกจ่ายแบบ TOU (Time of Use) ที่เป็น “อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้” โดยในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ - On Peak คือ ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง ค่าไฟฟ้าจะสูง : จันทร์-ศุกร์ 9.00-22.00 น. ค่าไฟ ~5.80...

ปิโตรนาสเปิดตัวระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเสมือน

ปิโตรนาสเปิดตัวระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลวเสมือน บริษัทน้ำมันแห่งชาติมาเลเซีย "ปิโตรนาส" ได้เปิดตัวระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลว “แอลเอ็นจี” เสมือน หรือ virtual pipeline system (VPS) ผ่านสถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ ในเมืองเปงเงรัง รัฐยะโฮร์ โดยโครงการนี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งประเทศมาเลเซียมีทางเลือกในการใช้พลังงานสะอาด โดยการส่งก๊าซธรรมชาติให้ถึงโรงงานลูกค้าได้ ระบบท่อส่งก๊าซแอลเอ็นจีเสมือนคือการขนส่งก๊าซแอลเอ็นจีโดยรถบรรทุกที่บรรจุก๊าซใส่ถังแช่เย็นเพื่อส่งไปยังผู้ใช้ก๊าซที่อยู่นอกเครือข่ายท่อส่งก๊าซหลัก ในขั้นตอนทดสอบการให้บริการนี้ ปิโตรนาสได้ส่งก๊าซแอลเอ็นจีด้วยระบบท่อเสมือนไปยังโรงงานผู้ผลิตยางยี่ห้อคอนติเนนตัลเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2DFF7Ip #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1434925190050818
video

ประหยัดไฟยังไงให้โลกจำ

การซักผ้าอย่างถูกวิธีนอกจากประหยัดเงินในกระเป๋าคุณแล้ว ยังประหยัดพลังงานและช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วย มาดูกันว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ? หากต้องซักผ้าจำนวนน้อย ลองเปลี่ยนมาซักมือ ช่วยถนอมเนื้อผ้าได้อีกด้วย เลือกเครื่องซักผ้าให้เหมาะสม เครื่องซักผ้าฝาหน้า ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ซักได้สะอาดกว่าและช่วยให้ผ้ายับน้อย เครื่องซักผ้าฝาบน ราคามักจะต่ำกว่าแบบฝาหน้า ซักเสร็จเร็ว และรองรับผ้าได้จำนวนมากกว่า เลือกขนาดถังให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานเกินกำลัง อย่าใส่เสื้อผ้าอัดแน่นเกินกำลังเครื่อง แยกผ้าขาวและผ้าสีออกจากกันทุกครั้งก่อนซัก ทำให้เสื้อผ้าไม่เสียและประหยัดค่าใช้จ่าย ตากเสื้อผ้าให้แห้งด้วยแดดหรือลมแทนการใช้เครื่องอบผ้า อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การประหยัดพลังงานที่ทำได้จริงและเริ่มต้นจากในบ้านเล็ก ๆ ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยโลกได้มหาศาล #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ประหยัดพลังงาน https://www.youtube.com/watch?v=hPYthUh6oJ0&fbclid=IwAR0xr5Y3hmBgvAgPMQicg_Jky3kZpnW2qFuxAqiuRfMwYn6g99LYoF7rJA0 แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1430213117188692?_rdc=1&_rdr

ทำไมไม่ให้รัฐสำรวจ และขุดน้ำมันดิบเอง

Q: ทำไมไม่ให้รัฐสำรวจและขุดน้ำมันดิบเอง ? A: การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต้องใช้เงินลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงมาก อาจจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะแม้สำรวจพบปิโตรเลียม แต่หากมีในปริมาณน้อย ก็ไม่คุ้มที่จะพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ การสำรวจนั้นก็จะจบลงด้วยการขาดทุน จึงไม่เหมาะที่จะให้รัฐลงทุนเอง อีกทั้งรัฐเองก็มีความต้องการใช้งบประมาณด้านอื่น ๆ มากอยู่แล้ว ที่รัฐเปิดให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น หากเอกชนประสบความสำเร็จก็จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ ตั้งแต่ค่าภาคหลวง (5 - 15% ของมูลค่าที่ผลิตได้) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจากส่วนกำไร ซึ่งมีอัตราสูงถึง 50% นอกจากนี้ในระบบ Thailand...
video

ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?

ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ?ราคาน้ำมันไทย​ ทำไมขึ้นลงตามตลาดโลก ? . 1. น้ำมันเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” เหมือนกับทองคำ มีคุณภาพใกล้เคียงกันทั่วโลก ไม่ว่าใครผลิต ? ผลิตที่ไหน ? << ที่ใดตั้งราคาถูก พ่อค้าก็จะซื้อแล้วขนไปขายในที่ที่แพงกว่า จนทำให้ราคาตลาดทั่วโลกปรับเท่า ๆ กัน (Abitrage) >> ...

MOST POPULAR