Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

ระเบิดเรือบรรทุกน้ำมัน ดับราคาน้ำมันดิบราคา 50 เหรียญ

ระเบิดเรือบรรทุกน้ำมัน ดันราคาน้ำมันดิบทะลุ 50 เหรียญสหรัฐฯ เรือบรรทุกน้ำมันติดธงสิงคโปร์ ถูกระเบิดที่ท่าเรือเจดดาห์ของซาอุดีอาระเบีย ในทะเลแดง (Red Sea) โดยกลุ่มกบฏ Houthi ของเยเมนอ้างความรับผิดชอบ ขณะที่ลูกเรือทั้งหมดปลอดภัย อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ความไม่สงบนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50.49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยก่อนหน้านี้เพียง 3 สัปดาห์ กลุ่มกบฏดังกล่าวได้เคยโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันจนได้รับความเสียหาย จากทุ่นระเบิด ที่ท่าเรือ Shuqaiq...

เปลี่ยน “ขยะพลาสติก” เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง

ในไทยมีขยะมูลฝอยมากกว่า 20 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนั้นมีขยะพลาสติกประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งขยะพลาสติกต้องใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย เราจะใช้ประโยชน์จากขยะเหล่านี้ได้หรือไม่ ? ในยุคที่โลกมีความต้องการใช้พลังงานสูง เราสามารถประหยัดพลังงานจากเชื้อเพลิงหลัก ด้วยการใช้พลังงานทดแทนจากขยะพลาสติกได้ ซึ่ง ปัจจุบันเราสามารถเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นน้ำมันได้ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis Technology) ในโรงงานเผาขยะพลาสติก จะใช้กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ซึ่งเป็นการเผาปิดในสูญญากาศด้วยความร้อนประมาณ 200-500 องศาเซลเซียส เมื่อขยะเผาไหม้แล้ว จะระเหิดเปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำหรือแก๊สต่าง ๆ ลอยขึ้นไปในหอกลั่น...

ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยนวัตกรรมโครงสร้างโมเลกุล (Molecular Solar Thermal Energy Storage)

ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยนวัตกรรมโครงสร้างโมเลกุล (Molecular Solar Thermal Energy Storage) นักวิทยาศาสตร์ของ Kasper Moth-Poulsen Research Group จากมหาวิทยาลัย Chalmers ประเทศสวีเดน ได้กำลังพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของเหลว (Liquid Solar Thermal Fuel) โดยนวัตกรรมนี้เกิดจากการใช้สสารซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน มารับพลังงานจากแสงแดด จนเกิดเป็นไอโซเมอร์พลังงาน...

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) มองตลาดน้ำมันอย่างไรในปี 2021

กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) มองตลาดน้ำมันอย่างไรในปี 2021 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา OPEC ร่วมกับประเทศพันธมิตรของรัสเซีย ได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะเพิ่มระดับการผลิตในเดือน มกราคมปี 2021 เพียง 500,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ที่ 2,000,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งทาง OPEC มองว่าความต้องการน้ำมันของโลกในปี 2020 ลดลงจากปีที่แล้ว 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ในปี...

ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ?

Q: ทำไมต้องอ้างอิงราคานำเข้าจากตลาดต่างประเทศ ทั้งที่ต้นทุนก๊าซส่วนใหญ่เป็นของไทย ? A: โครงสร้างราคาพลังงานในประเทศไทยนั้นถูกกำกับดูแลโดยภาครัฐ การอ้างอิงราคาตลาดโลกไม่ใช่เพื่อปกป้องผู้ผลิต แต่เป็นการสร้างระบบราคาที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากปิโตรเลียมเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถขนส่งซื้อขายได้ง่าย ราคาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นไปตามราคาตลาดโลกหรือตลาดภูมิภาค* หากปล่อยให้ผู้ผลิตคิดราคาแบบ Cost Plus คือบวกกำไรไปบนต้นทุน ก็มีโอกาสสูงที่จะทำให้ผู้บริโภคไทยใช้ของแพง เพราะไม่มีการแข่งขันจากการนำเข้า ดังเช่นกรณีของเอทานอลแพงที่หลายคนเริ่มรู้สึกกันแล้ว การที่ประเทศไทยเปิดเสรีให้นำเข้าปิโตรเลียมได้จึงเป็นการบังคับให้ผู้ผลิตต้องลดต้นทุนและบริหารให้แข่งขันได้กับราคานำเข้า อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงก๊าซที่ผลิตได้เองในประเทศ ต้องแยกแยะระหว่างก๊าซธรรมชาติ**ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า กับก๊าซ LPG ที่ใช้หุงต้มในครัวเรือน เฉพาะราคา LPG เท่านั้นที่มีการอ้างอิงราคานำเข้าจากต่างประเทศ...
video

รู้หรือไม่ว่าเม็ดกาแฟสามารถแปรรูปเป็นน้ำมันได้ !

รู้หรือไม่ว่าเม็ดกาแฟสามารถแปรรูปเป็นน้ำมันได้ ! ปกติการผลิตกาแฟจะต้องบดเม็ดกาแฟคั่วก่อน ซึ่งการบดจะได้กากกาแฟออกมา เราสามารถนำกากกาแฟเหล่านั้นมาเปลี่ยนให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อประโยชน์ในครัวเรือนได้ การแปรรูปกากกาแฟให้เป็นน้ำมันใช้กระบวนการ Pyrolysis ซึ่งเป็นกระบวนการให้ความร้อนประมาณ 400-800 องศาเซลเซียลกับชีวมวลและพลาสติกในสภาวะที่ไร้ออกซิเจน ซึ่งจะทำให้ให้ชีวมวลและพลาสติกสลายตัวกลายเป็นควันและเกิดควบแน่นในเวลาต่อมา ท้ายที่สุดจะได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำไปใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในร้านหรือครัวเรือนได้ ในกระแสการพัฒนาพลังงานสะอาดแบบนี้ การที่เราสามารถแปรเปลี่ยนขยะหรือสิ่งเหลือใช้ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงได้ เป็นการลดขยะให้กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี เป็นลดการใช้พลังงานหลัก และนับเป็นการพัฒนาพลังงานได้อย่างยั่งยืน ที่มา: https://www.facebook.com/PowerJunglePage/posts/200309954817812 #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #กาแฟเป็นน้ำมัน แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1513714265505243

ก้าวผ่านไฟฟ้าผูดขาดสู่ไฟฟ้าเสรีในยุโรป

สหภาพยุโรป (EU) ก้าวผ่านไฟฟ้าผูกขาด ไปสู่ไฟฟ้าเสรี กิจการไฟฟ้าเสรีในอุดมคติ คือเมื่อไม่มีผู้ผลิต/ผู้ขายไฟฟ้ารายได้รายหนึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อราคาในตลาดขายส่งได้ และเมื่อผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อไฟได้ตามราคาและบริการที่ตนพอใจในตลาดขายปลีก สภาวะเหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคได้อัตราคาค่าไฟที่ต่ำกว่าในตลาดที่ไม่มีการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ แต่กิจการไฟฟ้าเสรีแบบ 100% ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แม้ใน EU ปัจจุบันก็ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ประเทศใน ยุโรปมีกิจการไฟฟ้าแบบผูกขาด มีองค์กรที่ดูแลกิจการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า จัดส่ง จนถึงการขายไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ต้องพบความท้าทายจากการแข่งขัน และสามารถควบคุมราคาค่าไฟเองได้ ปี...

พลังงานแสดงอาทิตย์ในไทยยังไปต่อ

แม้ว่า COVID-19 จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยยังไปต่อ จากปี 2536 ที่เป็นปีแรกที่มีการริเริ่มการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งไฟฟ้า การผลักดันของภาครัฐในเรื่องพลังงานทดแทนโดยการให้ความสำคัญกับพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดเพื่อลดสัดส่วนการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลของประเทศไทยก็ยังดำเนินต่อไป ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PADP2018 Rev. 1) เป้าหมายกำลังผลิตใหม่ของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกที่จะรับซื้อไฟฟ้าระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2580 คือ 18,696 เมกะวัตต์ โดยจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 12,015 เมะวัตต์ (หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 64)...

น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ ช่วยลด PM 2.5

มาตรการจำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ รับมือ PM 2.5 ในช่วงหน้าหนาวของไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยกรมควบคุมมลพิษ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมมาตรการป้องกันและลดปัญหาฝุ่นควันพิษจากการปล่อยไอเสียยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่มีค่ากำมะถันสูง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มปตท. จัดจำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำเป็นกรณีพิเศษ (เป็นปีที่ 2) ผ่านคลังน้ำมันพระโขนงและตามปั๊มน้ำมันโดยเน้นพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล กว่า 400 แห่ง ในช่วง 16 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์...
video

พลังงานไทยเพื่อใคร

พลังงานไทย เพื่อใคร ?? ปฏิรูปพลังงาน.. เพื่อใคร ?? พลังงานไทย อะไรต้องเปลี่ยน ? พบคำตอบของทุกเรื่อง “พลังงาน” ในคลิปนี้ 📌 . #6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ปฏิรูปพลังงานเพื่อใคร #พลังงานไทยเพื่อใคร Posted by กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ERS on Friday, July 24, 2020 พลังงานไทย เพื่อใคร ?? ปฏิรูปพลังงาน.. เพื่อใคร ?? พลังงานไทย อะไรต้องเปลี่ยน ? พบคำตอบของทุกเรื่อง...

MOST POPULAR