Tag: กูรูพลังงาน
ทำไมพลังงานหมุนเวียนจึงถูกลงได้?
ถ้าเราย้อนไปดูข้อมูลราคาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราคงสรุปได้ว่า ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความผันผวนปรวนแปรมาก เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ในขณะที่ราคาพลังงานหมุนเวียนกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกดีดตัวขึ้นลงระหว่าง 20 เหรียญต่อบาร์เรล ถึงกว่า 100 เหรียญ ส่วนราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงถึงกว่า 10 เหรียญต่อล้านบีทียู และลดลงต่ำมาอยู่ในระดับไม่ถึง 2 เหรียญ ยากที่จะคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาเหล่านี้
ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้นทุนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ลดลงโดยตลอด จาก 5 เหรียญต่อวัตต์เมื่อ...
ราคาน้ำมันยังถูกอีกนาน
คำถามหนึ่งที่มีผู้ถามผมบ่อยมากคือราคาน้ำมันจะถูกอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหนและราคาในครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ผมได้ให้ไปก็คือไม่มีใครคาดเดาราคาน้ำมันได้ถูกต้อง ถ้ามีใครทำได้คน ๆ นั้นก็คงร่ำรวยไปแล้ว
แต่ถ้าเราต้องการคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันในอนาคตมีปัจจัยและข้อมูลที่เราต้องนำมาพิจารณาอยู่หลายประการ เช่น การผลิต การบริโภค เศรษฐกิจการเงิน ภูมิรัฐศาสตร์ และน้ำมันคงคลังหรือสต๊อกน้ำมันนั่นเอง
เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งนำไปสู่มาตรการ Social Distancing และ Lockdowns ทั่วโลกทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างถล่มทลาย โดยองค์การพลังงานสากลหรือ IEA คาดว่าความต้องการน้ำมันของโลกปีนี้จะลดลงจากปีที่แล้วเกือบ 18 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ...
LNG: ตลาดที่พลิกผัน
“ LNG: ตลาดที่พลิกผัน ”
Demand Shock ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์จากโควิด-19 ทำเศรษฐกิจถดถอย Demand ก๊าซลด ส่งผลตลาด LNG พลิกผันไปจากเดิม
2 - 3 ปี ที่ผ่านมา LNG เคยเป็นเพียงพลังงานทางเลือกที่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะมีราคาแพงกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เนื่องจากต้องนำเข้าจึงมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและจัดเก็บ แต่ปัจจุบัน สถานการณ์ตลาด LNG โลกได้พลิกผันไปอย่างสิ้นเชิง...
การปรับสูตรราคาอ้างอิงหน้าโรงกลั่น
กบง. เห็นชอบเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่น โดย รมต. พลังงานคาดว่า ราคาน้ำมันขายปลีกจะลดลง 50 สตางค์/ลิตร ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะกำกับดูแลผู้ค้าน้ำมันให้มี “ค่าการตลาด” ที่เหมาะสม คือ อัตราเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 1.85 บาท/ลิตร หรือเฉลี่ยขึ้นลงได้ในช่วง 1.45 - 2.25 บาท/ลิตร
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานย้ำว่า...
พฤติกรรมการใช้พลังงานเพื่อเดินทางหลัง covid-19
Covid-19 กระทบพฤติกรรมการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนอย่างมาก
ย้อนกลับไป เมื่อปี 2003 วิกฤติไวรัส SARS ส่งผลให้การเดินทางทางอากาศลดน้อยลงจากระดับปกติยาวนานถึง 6 เดือน แต่ครั้งนี้ เพราะ Covid-19 แพร่กระจายได้ง่ายกว่า SARS จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเกือบทุกประเทศประสงค์จะชะลอการเดินทางออกไปจนกว่าจะมั่นใจว่าไม่มีความเสี่ยง
วิกฤตครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อภาคการขนส่งทุกด้าน ตั้งแต่ยานยนต์ ขนส่งมวลชน ไปจนถึงเครื่องบิน กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา การบินพาณิชย์ลดลงกว่า 75% เทียบกับปีที่แล้ว น้ำมันที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารคิดเป็น...
แบตเตอรี่: กุญแจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า
สู่ยานยนต์ยุคใหม่
ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
แบตเตอรี่ชี้ชะตา
โลกบอกลารถน้ำมัน
ความก้าวหน้าของ “แบตเตอรี่” จะช่วยขจัดอุปสรรคและทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้น
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ความยุ่งยากในการชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า สถานีเติมไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และการชาร์จไฟต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง แม้จะมีสถานีเติมไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในต่างจังหวัดยังมีน้อย ทำให้ไม่สะดวกในการเดินทางไกล ๆ
2. ราคาของตัวรถ ที่เมื่อเทียบกับรถน้ำมันแล้วยังไม่คุ้มค่านัก รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว (Battery Electric Vehicle - BEV) ที่มีจำหน่ายในไทย...
ตลาดน้ำมันไทย ใครว่าผูกขาด?
ตลาดน้ำมัน ขาย “ตัดราคา” ได้ผลลัพธ์ระยะสั้น ระยะยาวเกิด “สงครามราคา” เสียหายทุกฝ่าย
“ราคา” เป็นเพียงเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถนำมาใช้ เพื่อเพิ่มยอดขายได้ แต่ต้องใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม แม้เป็นกลยุทธ์ที่ง่ายแต่กลับไม่ได้ผลที่ยั่งยืน และในที่สุดก็จะเกิดสงครามราคา สร้างความเสียหายต่อทั้งตนเองและตลาด การตัดราคาจึงเป็นตัวเลือกสุดท้าย
ตลาดน้ำมันก็เช่นกัน เพราะตลาดในประเทศมีจำกัด หากมีผู้ค้ารายใด หวังเพิ่มยอดขาย โดยตัดราคา เจ้าอื่นก็จะไม่ยอมเสียส่วนแบ่งตลาด แล้วลดราคาตาม ในที่สุดก็เกิดสงครามราคา ทุกรายก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะขาดทุนกันหมดแบบปั๊ม JET...