Home Tags เข้าใจเพื่อไปต่อ

Tag: เข้าใจเพื่อไปต่อ

ขยะที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ต้องเป็นขยะแบบไหน ?

Q: ขยะที่จะนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ต้องเป็นขยะแบบไหน ? A: ขยะที่นำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มักจะเป็นขยะครัวเรือนหรือขยะชุมชน เช่น ขยะอินทรีย์ และขยะที่สามารถเผาไหม้แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ เช่น ขยะประเภทพลาสติก กระดาษ และยาง เป็นต้น ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมารีไซเคิลนั้น ไม่เหมาะสำหรับทำเป็นเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าขยะจนกว่าจะคัดแยกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ เชื้อเพลิงขยะที่เข้าโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากโรงแปรรูปขยะเป็น RDF ซึ่งต้องแยกขยะ และปรับขนาดให้เหมาะสม ก่อนจะนำมาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ RDF มีความสะดวกในการขนส่ง และไม่ต้องมีใบอนุญาตขนส่งขยะ...

ASEAN Power Grid เชื่อมอาเซียนด้วยไฟฟ้า ก้าวสู่อนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน

ไทยกำลังจะได้โอกาสในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Power Grid) ซึ่งจะก่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก อาทิเช่น การสร้างงานสร้างรายได้ การส่งเสริมไฟฟ้าพลังงานสะอาด ฯลฯ เนื่องจากเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีพลังงานสะอาดเหมาะสมสำหรับการผลิตไฟฟ้า ทั้งลมและแสงอาทิตย์  สิ่งที่ยังขาดไปคือ การใช้ทรัพยากรร่วมกันในภูมิภาคและการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อส่งไฟฟ้าไปยังแหล่งที่มีความต้องการสูง ตอบรับความมั่นคง กระจายรายได้ และเพิ่มความยั่งยืนในระดับภูมิภาค ปัจจุบัน มีการสร้างสายส่งขนาด 500 กิโลโวลต์ เพื่อนำไฟฟ้าจากเขื่อน สปป.ลาว เข้าระบบไฟฟ้าของไทย และระบบ...

ทำไมพลังงานหมุนเวียนจึงถูกลงได้?

ถ้าเราย้อนไปดูข้อมูลราคาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราคงสรุปได้ว่า ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความผันผวนปรวนแปรมาก  เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ในขณะที่ราคาพลังงานหมุนเวียนกลับมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกดีดตัวขึ้นลงระหว่าง 20 เหรียญต่อบาร์เรล ถึงกว่า 100 เหรียญ ส่วนราคาก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงถึงกว่า 10 เหรียญต่อล้านบีทียู และลดลงต่ำมาอยู่ในระดับไม่ถึง 2 เหรียญ  ยากที่จะคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาเหล่านี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ต้นทุนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ลดลงโดยตลอด จาก 5 เหรียญต่อวัตต์เมื่อ...

อิหร่านเตรียมพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบหลังสิ้นสุดมาตรการคว่ำบาตร

อิหร่านเตรียมพร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบหลังสิ้นสุดมาตรการคว่ำบาตร วันที่ 11 กรกฎาคม 2563 นาย Zanganeh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของอิหร่านแถลงในระหว่างการทำพิธีลงนามข้อตกลงเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำมัน Yaran ในจังหวัด Khuzestan ทางตอนใต้ของอิหร่านว่า อิหร่านเตรียมขยายกำลังการผลิตน้ำมันดิบเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการสิ้นสุดมาตรการคว่ำมาตรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกลับมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันดิบโลกได้อีกครั้ง โดยคาดว่าแหล่งน้ำมันดังกล่าวจะสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ถึง 40 ล้านบาร์เรลในระยะเวลา 10 ปี อนึ่ง การส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังจากที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านและกำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและพลังงานต่ออิหร่านอีกครั้งเมื่อสองปีก่อน ทำให้บริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ เช่น TOTAL จากฝรั่งเศส...

ราคาน้ำมันยังถูกอีกนาน

คำถามหนึ่งที่มีผู้ถามผมบ่อยมากคือราคาน้ำมันจะถูกอย่างนี้ไปอีกนานแค่ไหนและราคาในครึ่งปีหลังจะเป็นอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ผมได้ให้ไปก็คือไม่มีใครคาดเดาราคาน้ำมันได้ถูกต้อง ถ้ามีใครทำได้คน ๆ นั้นก็คงร่ำรวยไปแล้ว แต่ถ้าเราต้องการคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันในอนาคตมีปัจจัยและข้อมูลที่เราต้องนำมาพิจารณาอยู่หลายประการ เช่น การผลิต การบริโภค เศรษฐกิจการเงิน ภูมิรัฐศาสตร์ และน้ำมันคงคลังหรือสต๊อกน้ำมันนั่นเอง เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งนำไปสู่มาตรการ Social Distancing และ Lockdowns ทั่วโลกทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างถล่มทลาย โดยองค์การพลังงานสากลหรือ IEA คาดว่าความต้องการน้ำมันของโลกปีนี้จะลดลงจากปีที่แล้วเกือบ 18 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ...

ถ้าขับรถยนต์ไฟฟ้า แล้วจะชาร์จไฟรถได้ที่ไหน? หรือขับไปไกลๆ จะทำอย่างไร?

ถ้าขับรถยนต์ไฟฟ้า แล้วจะชาร์จไฟรถได้ที่ไหน? หรือขับไปไกลๆ จะทำอย่างไร? ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถชาร์จไฟ หรืออัดประจุได้จากภายนอกอย่าง PHEV (Plug-in Hybrid Vehicle) และ BEV (Battery Electric Vehicle) ที่เพิ่มจำนวนขึ้น อาจชวนให้ตั้งคำถามถึง สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ Charging Station ว่าปัจจุบันมีจำนวนเท่าใดแล้ว Charging Station สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ...

ก๊าซชีวภาพจากขยะชุมชน

เปลี่ยน “ขยะ” ให้เป็นพลังงาน ด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) ขยะในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 70,000 ตันต่อวันในปี 2560 และคาดว่าจะเพิ่มในอัตราที่สูงทุกๆปี ทางออกเดิมๆอย่างการนำไปฟังกลบจึงไม่เพียงพอ ต้องมีการนำขยะไปสร้างพลังงานและรีไซเคิลตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือ การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ  คัดแยก : ขั้นตอนแรกเพื่อแยกขยะมูลฝอยจากชุมชน ซึ่งกว่า 50% เป็นขยะอินทรีย์ที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Digestion) ได้ โดยประเภทเศษอาหารจะผลิตก๊าซได้มากกว่าประเภทผักผลไม้  ผลิตก๊าซชีวภาพ : การย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศอาศัยแบคทีเรียย่อยสลายขยะจนได้ก๊าซมีเทน...

บริษัท Equinor ซึ่งเป็นรัฐบริษัทพลังงานรายใหญ่ของนอร์เวย์เปิดเผยว่า มีแผนดำเนินโครงการผลิตไฮโดรเจนและกักเก็บคาร์บอน* ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บริษัท Equinor ซึ่งเป็นรัฐบริษัทพลังงานรายใหญ่ของนอร์เวย์เปิดเผยว่า มีแผนดำเนินโครงการผลิตไฮโดรเจนและกักเก็บคาร์บอน* ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงการนี้จะตั้งอยู่ทางเหนือของอังกฤษ และผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติ ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกเก็บไว้ใต้ชั้นพื้นทะเล คาดว่าโรงงานจะเริ่มดำเนินการผลิตไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2026 ซึ่งจะนำไปใช้ในโรงงานเคมีภัณฑ์และโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง​ (Fuel Cell)** สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รถไฟ หรือรถบัสได้ ทั้งนี้ ไฮโดรเจนไม่ได้มีอยู่ทั่วไปอย่างอิสระได้ตามธรรมชาติ ในปัจจุบัน ไฮโดรเจนผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (Blue Hydrogen) เกือบทั้งหมด เช่นในโครงการนี้...

LNG: ตลาดที่พลิกผัน

“ LNG: ตลาดที่พลิกผัน ” Demand Shock ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์จากโควิด-19 ทำเศรษฐกิจถดถอย Demand ก๊าซลด ส่งผลตลาด LNG พลิกผันไปจากเดิม 2 - 3 ปี ที่ผ่านมา LNG เคยเป็นเพียงพลังงานทางเลือกที่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะมีราคาแพงกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เนื่องจากต้องนำเข้าจึงมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและจัดเก็บ แต่ปัจจุบัน สถานการณ์ตลาด LNG โลกได้พลิกผันไปอย่างสิ้นเชิง...

ค่าการตลาดในราคาน้ำมันกำหนดไว้คงที่หรือไม่ ?

Q: ค่าการตลาด ในโครงสร้างราคาน้ำมันถูกกำหนดไว้คงที่หรือไม่ ? A: ค่าการตลาดเคยถูกกำหนดไว้คงที่ จนถึงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ได้มีการยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมัน เป็นผลให้เกิดการแข่งขันตามกลไกตลาด มีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในตลาดไทยอย่างคึกคัก อาทิ ยี่ห้อ Q8 BP Jet Petronas ธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีกำไรดีอย่างที่หลายคนคิด สังเกตได้จากเหตุการณ์ที่ Q8 BP Jet Petronas ดำเนินธุรกิจในไทยอยู่พักหนึ่ง...

MOST POPULAR