ERS ยื่นเอกสาร รมว.พลังงาน นำเสนอแนวทางการปฏิรูปพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมหารือประเด็นเกี่ยวข้อง
เมื่อ 3 ธันวาคม 2563 ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ พร้อมด้วยส่วนหนึ่งของแกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน หรือ ERS (the fellowship of Energy Reform for Sustainability) เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เพื่อมอบเอกสารข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปพลังงานของประเทศ และหารือในประเด็นเกี่ยวข้อง อาทิ
— เป้าหมาย Carbon neutral 2050 และภาษีคาร์บอน — ในข้อเสนอของ ERS นั้นสอดคล้องกับที่ รมต.เห็นว่าประเทศไทยจะต้องไปในทิศทางนั้นเนื่องจากแรงกดกันทางเศรษฐกิจ ดังที่สะท้อนอยู่ในเงื่อนไขการลงทุนจากต่างชาติ และแนวโน้มของข้อกำหนดที่มาสินค้าในตลาดต่างประเทศซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกของไทย
— พลังงานแสงอาทิตย์ — solar rooftop ยังมีศักยภาพ โดยควรปรับปรุงข้อกำหนดในการเชื่อมต่อทางเทคนิคที่ยังเป็นอุปสรรค
— เชื้อเพลิงชีวภาพ — รมต.เห็นว่าราคาต้องแข่งขันได้ระยะยาว โดย ERS เสนอว่าทำได้เร็วหากปรับโครงสร้างราคาให้อ้างอิงตลาดโลก/การนำเข้า แทนระบบต้นทุน+กำไร (Cost Plus) ที่เป็นอยู่ เพราะในอดีตก็เคยใช้โครงสร้างราคาลักษณะนั้นอยู่แล้ว ด้านความท้าทายในภาคเกษตร รมต.เห็นว่าน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ขณะที่ ERS เสนอให้ปรับปรุงพันธุ์พืชพลังงานโดยพิจารณา GMO และเห็นพ้องกันว่าการพยุงราคาเกษตรโดยตรงอาจส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นความยั่งยืนได้
— รถไฟฟ้า — รมต.มีแผนจะส่งเสริมโดยคำนึงถึงช่วงเปลี่ยนผ่านและการดูแลให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน เห็นพ้องกับ ERS ว่าแผนพัฒนาควรเปิดกว้าง สำหรับยานยนต์ทั้งแบบแบตเตอรี่ (BEV & Hybrid) และแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ทั้งนี้ ERS ย้ำว่ารถไฟฟ้าให้ประโยชน์อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อพลังไฟฟ้าที่ใช้นั้นมาจากพลังงานหมุนเวียน
— การเปิดเสรีไฟฟ้า — รมต.เห็นพ้องกัน โดยเล่าถึงความต้องการสามารถเลือกซื้อไฟฟ้าตามที่มาของนักลงทุนต่างชาติ และได้เล่าถึงโครงการคิดค่าผ่านทางไฟฟ้าจากลาวไปสิงคโปร์ ซึ่งก็น่าจะแปลว่าสามารถเป็นให้บุคคลที่สามใช้สายส่ง (TPA) ได้ในประเทศด้วย ERS เตือนให้ระวังผลกระทบด้านความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคไทย ทั้งนี้ ERS การเปิดสายส่งจะช่วยส่งเสริมให้ตลาดก๊าซมีการแข่งขันได้มากขึ้นด้วย ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาไฟฟ้าสำรองล้นเกินและการทำ PDP รมต.รับจะรับข้อเสนอของ ERS ไปพิจารณา
—โครงสร้างค่าไฟฐาน — ซึ่ง รมต.กำลังให้ปรับปรุงนั้น ทาง ERS เสนอให้เปลี่ยนจาก ROIC เป็น Self Financing Ratio ซึ่งก็เคยใช้ในอดีต
— คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) — ควรใช้กระบวนการสรรหาที่โปร่งใสตามกฏหมายเพื่อให้ได้บุคคลากรที่จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อ่านประเด็นเด่นของข้อเสนอ ERS : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1478972368979433
อ่านแนวทางปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนฉบับเต็ม (ปรับปรุงครั้งที่ 3) : https://www.ers.or.th/ers-คือใคร/
แสดงความคิดเห็นได้ที่:
https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1511819755694694/?_rdc=1&_rdr