สงครามราคาน้ำมันกำลังจะกลายเป็นสงครามหนี้สิน
ก่อนหน้านี้ซาอุดิอาระเบียใช้ความพยายามในการประสานกันระหว่างกลุ่มโอเปกและผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่นอกกลุ่มโอเปกเช่น รัสเซีย และ สหรัฐฯ ให้มีความร่วมมือกันในการสร้างเสถียรภาพราคาน้ำมันโลก โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบียเสนอให้โอเปกและรัสเซียลดการผลิตน้ำมันดิบลง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ซาอุดิอาระเบียจึงตัดสินใจในทางตรงกันข้ามคือผลิตน้ำมันเพิ่มเข้ามาในตลาดโลกแทนที่จะลดปริมาณการผลิตรวมถึงตัดราคาน้ำมันของตัวเองอีกด้วย ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกดิ่งกว่าร้อยละ 30 ในวันเดียว สร้างความกังวลและสับสนต่อตลาดเงินตลาดทุนของโลกเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามบลูมเบิร์กได้วิเคราะห์ว่าราคาน้ำมันเท่าไรถึงจะสมดุลกับงบประมาณรายจ่ายของประเทศเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตน้ำมันของเอกชนในสหรัฐฯ ซึ่งปรากฏว่า ถึงแม้ในทางเทคนิคต้นทุนการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียจะต่ำที่สุดแต่เนื่องจากซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันเพียงอย่างเดียวจึงต้องการราคาน้ำมันสูงถึง $83.6 ต่อบาร์เรลถึงเพียงพอต่องบประมาณรายจ่าย ขณะที่รัสเซียต้องการ $42 ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตน้ำมันจาก Permian Basin ของสหรัฐฯ อยู่ที่ $44 จะเห็นได้ว่าที่ราคาน้ำมันปัจจุบัน รายใหญ่ทุกรายกำลังขาดทุนขึ้นอยู่กับรายไหนทนต่อการขาดทุนเช่นนี้ได้นานกว่ากันแต่ถ้าหากสงครามราคาน้ำมันยังยืดเยื้อ ประเทศที่จะล้มพับไปก่อนคนแรกน่าจะไม่ใช่รัสเซีย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bloom.bg/2IBt6SU
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1283416891868316