ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยนวัตกรรมโครงสร้างโมเลกุล (Molecular Solar Thermal Energy Storage)
นักวิทยาศาสตร์ของ Kasper Moth-Poulsen Research Group จากมหาวิทยาลัย Chalmers ประเทศสวีเดน ได้กำลังพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปของเหลว (Liquid Solar Thermal Fuel) โดยนวัตกรรมนี้เกิดจากการใช้สสารซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน มารับพลังงานจากแสงแดด จนเกิดเป็นไอโซเมอร์พลังงาน (โมเลกุลที่มีธาตุเคมีเหมือนกันแต่มีโครงสร้างต่างกัน) ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวและสามารถกักเก็บพลังงานได้ เมื่อจะนำพลังงานไปใช้ จะมีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี (Catalyst) ที่ทำให้ของเหลวดังกล่าวมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 63 องศาเซลเซียส จนเกิดเป็นพลังงานความร้อนไว้ใช้ประโยชน์ในระบบทำความร้อนให้อาคาร เมื่อพลังงานถูกใช้ไป โมเลกุลจะเปลี่ยนกลับมาเป็นโครงสร้างเดิมและสามารถนำกลับมาผ่านกระบวนการซ้ำใหม่ได้
แม้ Liquid Solar Thermal Fuel ยังไม่พร้อมนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีอายุการใช้งานได้นาน
ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยนวัตกรรมโครงสร้างโมเลกุล ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนให้มีความยั่งยืนเพื่อรองรับความต้องการพลังงาน หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งสวนทางกับพลังงานฟอสซิลที่ปริมาณการใช้ลดลงทุก ๆ ปี
ที่มา https://www.eni.com/…/low-carbon/liquid-solar-energy.html
https://www.youtube.com/watch?v=8FdFhgEVp5w
#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #SolarFuel
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/posts/1517371908472812