ระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ: หัวใจของระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีการเปิดใช้งานระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ หรือ Smart Energy Storage System (ESS) ขนาด 1.5 เมกะวัตต์ชั่วโมง เป็นระบบการสำรองไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อเพิ่มความมั่นคงและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง GC และ GPSC ในรูปแบบของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) กักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่เหลือใช้จากระบบผลิตไฟฟ้าของ GC
ESS คือ อุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้สามารถกักเก็บไว้สำหรับใช้งานภายหลังได้ สามารถช่วยอุดช่องโหว่ของแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่อาจไม่ได้มีอย่างเพียงพอตลอด 24 ชั่วโมง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ESS นี้จะมีประโยชน์มหาศาลในระบบไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เนื่องด้วยคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการ
โยกย้ายพลังงานไฟฟ้าระหว่างช่วงเวลาได้ จึงสามารถเก็บไฟฟ้าช่วง off-peak หรือไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไว้ใช้ได้
สร้างใน scale เล็กได้ ลดความสิ้นเปลืองทางต้นทุน
สามารถปล่อยและเก็บไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น
เคลื่อนย้ายได้และตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย เหมาะแก่การนำไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านพลังงาน
หากมีการนำ ESS มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำแน่นอน
ที่มา https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/422024
อ่านเพิ่มเติม เรื่อง เทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน และ ระบบไฟฟ้าแห่งอนาคต โดย TDRI ที่ https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2018/03/Battery-storage-seminar.pdf
อ่านเพิ่มเติม เรื่อง ระบบกักเก็บพลังงาน
https://bit.ly/3h7zFfQ
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #EnergyStorageSystem #ESS
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1414963985380272