Q: เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ จะจัดการอย่างไร?
A: แผงโซลาร์เซลล์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ควรนำไปทิ้ง เพราะมีองค์ประกอบทั้งสารอันตราย เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสารไม่อันตราย แต่มีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่น เงิน แพลตตินั่ม หรือโลหะหายาก เช่น เทลลูเรียม เจอร์มาเนียม และ อินเดียม ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันสารอันตรายไม่ให้ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ดังเช่นหลายประเทศในโลกที่ตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมมีมาตรการต่าง ๆ มารองรับการใช้งานโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้น เช่น ยุโรป และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง “การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า” มีแนวทางในการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ไว้ 4 ระดับ คือ
1) การจัดการคัดแยกอย่างง่ายและฝังกลบส่วนที่เหลือ
2) การคัดแยก บด และทาการคัดแยกวัสดุหลังการบด
3) การคัดแยกเบื้องต้นและการใช้เครื่องมือในการแยกส่วนกระจก
4) การคัดแยกเบื้องต้นและการแยกส่วนวัสดุให้สามารถนำกลับไปทำแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้อีก
เป็นที่น่าสนใจว่า วิธีการแรก ๆ นั้นจะง่ายที่สุดและมีต้นทุนต่ำสุด แต่ได้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้น้อยกว่า
ดังนั้น ขั้นตอนการจัดการแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ จึงเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน ตั้งแต่การผลิตแผง การขนส่งและติดตั้ง การใช้งาน การเก็บรวบรวม การรีไซเคิล และการกําจัด ขั้นตอนต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ เริ่มจากหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กํากับดูแล ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กรมควบคุมมลพิษ จนถึงภาคเอกชน ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้ติดตั้ง เจ้าของโรงงาน ผู้รวบรวมหรือคัดแยก ผู้รีไซเคิล ซึ่งทั้งหมดจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
ที่มา รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดความคุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้า https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG58D0006
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่: https://www.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1396395167237154/