ในช่วง COVID-19 ที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น การกักตัวอยู่บ้านในช่วงฤดูร้อนย่อมส่งผลให้เราใช้ไฟฟ้ามากขึ้นโดยไม่รู้ตัว มาดูกันว่าในค่าไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ?
.
โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนทั่วไป ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1️⃣ ค่าไฟฟ้าฐาน – เป็นต้นทุนโดยรวมของการผลิตไฟฟ้า รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมุติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเงินเฟ้อ ค่าไฟฟ้าฐานคิดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าด้วยอัตราก้าวหน้า (อัตราค่าพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยแพงขึ้นเมื่อใช้ไฟฟ้ามากขึ้น)
2️⃣ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) – ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากระดับที่กำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน มีการปรับปรุงทุก ๆ 4 เดือน
3️⃣ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) – คิดเป็น 7% ของค่าไฟฟ้าฐาน กับ ค่า Ft
.
อนึ่ง ยังมีอัตราค่าไฟฟ้าอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า TOU (Time of Use Rate) ซึ่งอัตราจะแปรผันตามช่วงเวลาของการใช้ในแต่ละวัน #ERSพลังงาน8บรรทัด จะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป
.
ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19 นี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วยการลดภาระค่าไฟฟ้า สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bbc.in/3f50H6W
#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ค่าไฟ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.mea.or.th/profile/2989/2991
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1325822560961082