ใครควรรับผิดชอบต่อการปล่อย CO2 ที่เพิ่มขึ้นของโลก?

0
612

ถึงแม้นานาประเทศแสดงเจตจำนงค์ที่จะลดการปลดปล่อย CO2 แต่ยังมีการปลดปล่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2019 เป็นปีที่มีการปล่อย CO2 รวมทั่วโลกในระดับสูงสุด หรือ All-time high ตามข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy ปี 2020

ถึงแม้กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (กลุ่มประเทศ​ OECD) จะลดการปลดปล่อย CO2 และมีแนวโน้มที่จะลดอย่างชัดเจน แต่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (กลุ่มประเทศ​ Non-OECD) ซึ่งมีประชากรถึง 60% ของโลกและรวมถึงจีน อินเดีย และหลายประเทศในเอเชีย ยังคงเพิ่มการปลดปล่อย CO2 อยู่

อย่างไรก็ตาม การปล่อย CO2 ต่อประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนานั้น (เช่น จีน 7.0 ตัน/คน และอินเดีย 1.8 ตัน/คน) ยังต่ำกว่าการปล่อย CO2 ของประเทศที่พัฒนาแล้ว (เช่น สหรัฐอเมริกา 15ตัน/คน) ทำให้การลดการปล่อย CO2 ของโลก เป็นเรื่องท้าทายยิ่ง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย คงเหมือนดั่งสถานการณ์ไฟไหม้บ้าน หากคนในบ้านมัวแต่เกี่ยงรอว่าใครควรจะต้องออกแรงช่วยดับมากน้อยแค่ไหนถึงจะยุติธรรม บ้านก็คงไฟไหม้เสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของพลเมืองโลกทุกๆ คนและทุกๆ ประเทศที่จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเต็มกำลัง

ℹ️ ดูกราฟข้อมูล CO2 Emissions ตั้งแต่ปี 1965 – 2019 ได้ที่คอมเมนต์ใต้โพสต์
ℹ️ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.forbes.com/sites/rrapier/2020/08/09/why-curbing-carbon-dioxide-emissions-poses-such-a-challenge/#7258efea1e5d

ภาพประกอบจาก https://climatereanalyzer.org/wx/DailySummary/#t2max เป็นแผนที่ภูมิอากาศโลกโดยเป็นข้อมูลจาก NOAA Global Forecast System (GFS) model แสดงอุณหภูมิของอากาศ 2 เมตรเหนือพื้นผิวโลก

หมายเหตุ OECD Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #จับข่าวคุย #CO2Emission

แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1411195132423824