โลกต้องการพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น ?
แม้ “พลังงานนิวเคลียร์” จะเป็นสิ่งที่หลายคนหวาดกลัวเรื่องความปลอดภัย แต่ในโลกนี้ก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้กันถึง 31 ประเทศ เพราะถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดขนาดใหญ่มาก และอาจมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ปัญหาโลกร้อน) ที่ยังท้าทายมนุษย์ชาติอยู่
แม้การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่สามารถสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้เพียงพอ ที่ผ่านมาจึงยังมีการใช้พลังงานจากฟอสซิลมากขึ้น นำมาสู่คำถามว่า “เราสามารถลดการปล่อย CO2 ของโลกลงได้ โดยไม่ต้องเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทางเลือกอย่างนิวเคลียร์ ได้หรือไม่ ? ”
สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปยังคงพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์อยู่ โดยประเทศเหล่านี้สามารถลดการปล่อย CO2 ลงได้ แม้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ลดลง โดยสหรัฐฯ ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ส่วนสหภาพยุโรปก็มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น เช่น พลังงานลม
ในขณะที่ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี มีการปล่อย CO2 สูงกว่ากลุ่มสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปรวมกัน อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพิ่มมากถึง 70% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ซึ่งการใช้นิวเคลียร์ตกต่ำอยู่หลายปีเพราะผลพวงจากอุบัติเหตุฟูกูชิม่า) จึงทำให้ลดการปล่อย CO2 ลงได้ ประเทศที่พลังงานนิวเคลียร์เติบโตอย่างมากอาทิ จีน ปากีสถาน และอินเดีย
พลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เศรษฐกิจยังเติบโตและต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ต้องมีส่วนช่วยโลกลดการปล่อย CO2 ไปพร้อมๆกันด้วย
ในประเทศไทยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ยังขาดการยอมรับ แม้ในอดีตเคยมีการวางแผนจะสร้าง แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบันไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในแผนของประเทศไทยแล้ว
ที่มา https://www.forbes.com/sites/rrapier/2020/08/16/why-the-world-needs-more-nuclear-power/#2b0a24557ef8
#6ปีERS #ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #พลังงานนิวเคลียร์
แสดงความคิดเห็นได้ที่: https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1417563571786980