Q : ถ้ารัฐไม่ต่อสัมปทานปิโตรเลียมแล้วใช้ระบบจ้างผลิตแทน ได้ส่วนแบ่งมากขึ้นถึง 80-90% ไม่หวงแหนประโยชน์ชาติและประชาชนเลย
A : ไม่ใช่ไม่ต่อ แต่ต่อไม่ได้นะครับ เนื่องจาก #สัมปทาน ของแหล่ง เอราวัณ-บงกช ที่กำลังเป็นข่าวอยู่นั้น ได้มีการต่ออายุมาแล้วหนึ่งครั้ง ตามสิทธิ์ของผู้รับสัมปทานตามสัญญาภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลง รัฐจึงกำลังดำเนินการประมูลใหม่ ด้วย #ระบบแบ่งปันผลผลิต ที่หลายคนเคยเรียกร้องกันไงครับ ตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2560
? ส่วน #ระบบจ้างผลิต ต้องใช้กับพื้นที่ศักยภาพปิโตรเลียมสูงมาก (เช่นตะวันออกกลาง) ต่างจากแหล่ง เอราวัณ-บงกช ที่มีลักษณะเป็นกระเปาะ ถึงแม้จะมีแท่นผลิตและอุปกรณ์หลายอย่างอยู่แล้ว แต่ก็ต้องเจาะหลุมใหม่เพิ่มขึ้นปีละหลายร้อยหลุม ไม่คุ้มที่จะจ้างผลิตเพราะรัฐต้องลงทุนและรับความเสี่ยงเอง แม้จะคาดว่ามีกำไรบ้าง แต่ก็ไม่แน่ว่าจะกำไรมากน้อยแค่ไหน และเป็นการใช้งบประมาณโดยไม่จำเป็น ส่วนเอกชนผู้รับจ้างผลิตก็ไม่อยากทำ เนื่องจากเสียโอกาสที่จะไปผลิตในแหล่งใหญ่ๆ ในประเทศที่ศักยภาพปิโตรเลียมสูงมาก
?️ ภาพจาก : Pixabay @jill111