ตาม ERS ไปดูเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่ยักษ์ ซึ่งเป็นที่โจษจัน

0
676


34038808_818058908404119_1926777901567442944_o

ตาม ERS ไปดูเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่ยักษ์ ซึ่งเป็นที่โจษจัน

34069004_818058861737457_3844836925034725376_o

 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา @กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมความคืบหน้าในการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในแขวงไซยะบุรี ของสปป.ลาว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 นี้

34035723_818058888404121_2831307600472047616_o

 เขื่อนไซยะบุรี เป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ชนิด Run of River ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะมีกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งหมด 8 ชุด แบ่งเป็น 175 เมกะวัตต์ (MW) 7 ชุด และ 60 MW อีก 1 ชุด รวมเป็นกำลังผลิต 1,285 MW ได้พลังงานไฟฟ้าจำนวนประมาณ 7,400 ล้านหน่วย (GWh) ต่อปี โดยจำหน่ายให้ประเทศไทยประมาณ 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ผ่านสายส่งแรงสูง 500 KV ที่เหลืออีกประมาณ 5% จำหน่ายให้ สปป.ลาว

34013919_818058945070782_5577302444477513728_o

 โครงการดังกล่าว เป็นเขื่อนแบบ Run of River ซึ่งไม่มีการกักเก็บน้ำ จึงเกิดผลกระทบต่อประชาชนริมฝั่งโขงน้อยที่สุด และยังไม่ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าธรรมชาติมาเป็นอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้โครงการได้เลือกใช้กังหันน้ำที่เป็นมิตรต่อสัตว์น้ำ โดยออกแบบใบพัดให้หมุนช้า และมีจำนวนใบพัดน้อยที่สุด
เพื่อลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของสัตว์น้ำให้มากที่สุด

34035348_818058985070778_2091655915034902528_o

 มีการทุ่มงบประมาณหลายพันล้านบาท เพื่อศึกษาหาข้อมูล
ในเชิงลึก เพื่อใช้ในการออกแบบและสร้างทางปลาผ่าน เพื่อให้สัตว์น้ำสามารถอพยพผ่านเขื่อนได้ทุกฤดูกาล ทั้งปลาว่ายทวนน้ำ และ ปลาว่ายตามน้ำ

34176874_818059005070776_528024262917750784_o

 สำหรับปลาที่อพยพทวนน้ำ มีระบบปั๊มน้ำเพื่อชักจูงปลาไปสู่ทางปลาเข้า (Fish Entrance) เชื่อมต่อไปยังทางปลาผ่าน (Fish Ladder) และช่องยกระดับปลา (Fish Locks) จนถึงคลองระดับบน (Upper Channel) เพื่อให้ปลากลับสู่แม่น้ำโขงช่วงเหนือเขื่อน

34050254_818059038404106_3906110208379715584_o

 สำหรับปลาที่อพยพตามน้ำ ก็จะมีทางปลาเข้าไปสู่ แอ่งพักปลา (Fish Resting Pool) และไหลลงรางเท (Zigzag chute) เพื่อลดความลาดชัน และผลกระทบจากความเร็วของกระแสน้ำ
ที่อาจทำอันตรายต่อปลา ก่อนที่จะกลับสู่แม่น้ำโขงตอนล่างของเขื่อนได้

34134421_818059091737434_7558582450239045632_o

 นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มระบบจัดการตะกอนดินก้นแม่น้ำ
ให้สามารถผ่านได้ เพื่อลดผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ และในอนาคตก็จะจัดตั้งสถานีวิจัยและขยายพันธุ์ปลาเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนอาชีพประมงของประชาชนในพื้นที่ด้วย

34050247_818059108404099_408886813634068480_o

 สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รัฐบาลลาวให้ความสำคัญกับชาวบ้านในพื้นที่ และสิ่งแวดล้อม แม้จะทำให้งบประมาณการก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 10% เป็น 1.35 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลลาวก็ช่วยปรับค่าสัมปทานให้โครงการสามารถเดินต่อในเชิงพาณิชย์ได้
เพราะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ สปป.ลาว เองด้วย

 ถึงแม้โครงการไซยะบุรีจะเป็นโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ยักษ์ แต่พลังงานไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าวคิดเป็นเพียง 3.5% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศไทย และแม้ก่อนหน้านี้เราได้ยินข้อกังวลเรื่องผลกระทบที่รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ได้มารับฟังข้อมูลการปรับปรุงการออกแบบในหลายๆด้าน เพื่อพยายามตอบประเด็นซึ่งเป็นที่โจษจันเหล่านั้น แต่จะตอบได้ดีจริงแค่ไหนก็คงต้องรอดูกันต่อไป

FACEBOOK : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/818059181737425