ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรเข้ารัฐดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ ?

0
491

Q: ไฟฟ้าผูกขาดแต่กำไรส่งเข้ารัฐ ดีกว่ากำไรเข้านายทุนจริงหรือ?

A: การให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าทำให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งนอกจากช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความมั่นคงของภาคส่วนนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้ประเทศได้ขยายบริการเชิงสาธารณูปโภคโดยไม่ต้องใช้เงินที่มีอยู่จำกัดของภาครัฐมาลงทุน

ในเมื่อเงินลงทุนมาจากเอกชน ก็ไม่แปลกนะคะ ที่กำไรเอกชนเข้าผู้ลงทุน แต่เขาต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้รัฐก่อนนะคะ และเงินปันผลที่จ่ายให้นายทุนก็ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลหรือถูกหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย ในขณะที่การลงทุนโดยรัฐวิสาหกิจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ และส่งผลต่อหนี้สาธารณะ เพราะรัฐมีความต้องการงบประมาณที่สูงมาก ไหนจะถนนหนทางไหนจะโรงเรียนทั่วประเทศ โรงพยาบาล ตำรวจทหาร และกระทรวงทบวงกรมต่างๆ ดังนั้น รัฐมีข้อจำกัดทางการเงินการคลัง และต้องระวังรักษาเสถียรภาพ เพราะถ้ารัฐบาลล่มจมประชาชนก็จะเดือดร้อนกันถ้วนหน้า

ดังนั้น สิ่งใดที่เอกชนทำได้จึงควรปล่อยให้เอกชนเข้ามาทำ ถ้าพูดถึงโครงการเดียวกันความเสี่ยงเชิงธุรกิจจะเหมือนกัน แต่อาจมีผลลัพธ์ที่ต่าง เนื่องจากโดยทั่วไประบบของเอกชนมีการควบคุมค่าใช้จ่ายและดูแลประสิทธิภาพได้ดีกว่าของภาครัฐ ซึ่งแปลว่าโครงการเดียวกันหรือโรงไฟฟ้าแบบเดียวกัน ถ้าเอกชนทำอาจจะได้กำไรกว่าภาครัฐ! (กำไรสูงขึ้นภาษีทั้ง 2 ตัวก็สูงขึ้นด้วย) โดยการกำกับดูแลให้มีการแข่งขันจะป้องกันไม่ให้เกิดกำไรเกินควร เศรษฐกิจของเราจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการให้รัฐทำเองทุกอย่าง อีกทั้งรัฐเองก็เงินไม่ค่อยพอต้องใช้งบประมาณเกินดุลอยู่แล้ว

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าของใคร รัฐเป็นผู้กำกับดูแลทั้งหมด ทั้งด้านการควบคุมมลพิษตามกฎหมาย และการตั้งราคา ไม่ให้โรงไฟฟ้าเอาเปรียบผู้บริโภคได้ ค่าไฟไม่แพงไปกว่ากันแน่นอน และถ้ามีการแข่งขันที่แท้จริงค่าไฟย่อมจะถูกลงกว่าในระบบปัจจุบัน

#6ปีERS #เข้าใจเพื่อไปต่อ #ERSFellowship #คุณถามเราตอบ #ไฟฟ้าเสรี

สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่:

https://web.facebook.com/ERSFellowship/photos/a.299602063583142/1367816093428395