ถ้าพูดถึงถ่านหิน หลายคนจะนึกถึงภาพฝุ่นควันดำ หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะที่เคยเป็นปัญหา ทำให้เกิดภาพจำที่เลวร้าย
?แต่ลองมาดูกันไหมว่า “โรงไฟฟ้าถ่านหินเลวร้ายไปหมดเลยหรือ?”
ถ่านหินถือว่ายังมีบทบาทสำคัญในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีแหล่งถ่านหินสำรองประมาณ 1,000 ล้านตัน หรือ 72 ปี ตามอัตราการใช้ในปัจจุบัน ?
ปัจจุบัน ปัญหาที่แม่เมาะมีมาตรการป้องกันแก้ไขมาแล้วเกือบ 30 ปี และโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ๆ จะใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Clean Coal Technology) ไม่สร้างมลพิษเหมือนกับที่แม่เมาะเคยมีมา แต่แผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกแห่งในประเทศก็มักจะได้รับการต่อต้านอย่างแข็งขัน ทั้งจากชุมชนในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันผลกระทบมิได้เลวร้ายอย่างที่กลัวกัน และประชาชนบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มที่ต่อต้านการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้ แรงต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประเทศไม่สามารถใช้ถ่านหินได้ในสัดส่วนที่มากขึ้นและการใช้ถ่านหินในโรงงานอุตสาหกรรมก็อาจจะได้รับแรงต่อต้านอีกด้วย จึงคาดได้ว่า “ไทยจะเผาถ่านหินน้อยลงในอนาคต” ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีในแง่การช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน
#ERSFellowship #เข้าใจเพื่อไปต่อ #กูรูพลังงาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thansettakij.com/content/425461
ℹ️ ที่มาบทความ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,558 วันที่ 19 – 21 มีนาคม 2563
ℹ️ โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ : https://www.facebook.com/ERSFellowship/posts/1295874333955905